วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

มาตราตัวสะกด



 
มาตราตัวสะกด

         ตัวสะกด เป็นพยัญชนะที่ใช้บังคับเสียงท้ายคำ หรือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระ และมีเสียงประสมเข้ากับสระ มาตราตัวสะกดมีอยู่ 8 แม่ ได้แก่ แม่กง แม่กน แม่กม แม่กก แม่กด แม่กบ แม่เกย และแม่เกอว


มาตราแม่ ก กา 
        แม่ก กา คือ คำที่อ่านออกเสียงสระ -า ไม่มีตัวสะกด เช่น 
นาฬิกา อ่านว่า นา-ลิ-กา


กา อ่านว่า กา




มาตราแม่ กก
        แม่กก คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "ก" เป็นตัวสะกด ได้แก่พยัญชนะ ก ข ค ฆ เช่น  
กระจก อ่านว่า กระ - จก 

 

สุนัข อ่านว่า สุ - นัก

 

 




มาตราแม่ กน

        แม่กน คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "น" เป็นตัวสะกด ได้แก่พยัญชนะ น ณ ญ ร ล ฬ เช่น
                       
ขนุน อ่านว่า ขะ - หนุน
ถนน อ่านว่า ถะ - หนน

 

มาตราแม่ กบ

        แม่กบ คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "บ" เป็นตัวสะกด ได้แก่พยัญชนะ บ ป พ ภ ฟ เช่น
                  
ธูป อ่านว่า ทูบ  
ยีราฟ อ่านว่า ยี-ราบ
     

มาตราแม่ กด

        แม่กด คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "ด" เป็นตัวสะกด ได้แก่พยัญชนะ เช่น
                   
พัด อ่านว่า พัด
เมล็ด อ่านว่า มะ-เล็ด
         

มาตราแม่ กง

        แม่กง คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "ง" เป็นตัวสะกด ได้แก่พยัญชนะ ง เช่น 
กลอง อ่านว่า กลอง


กางเกง อ่านว่า กาง-เกง

 


มาตราแม่ กม

        แม่กม คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "ม" เป็นตัวสะกด ได้แก่พยัญชนะ ม เช่น 
ขนม อ่านว่า ขะ-หนม
ไอติม อ่านว่า ไอ-ติม
  




มาตราแม่ เกย
        แม่เกย ได้แก่พยัญชนะ ย เช่น 
ใบเตย อ่านว่า ใบ-เตย
ควาย อ่านว่า ควาย




 มาตราแม่ เกอว
        แม่เกอว ได้แก่พยัญชนะ ว เช่น 
ข้าว อ่านว่า ข้าว
มะนาว อ่านว่า มะ-นาว




คำควบกล้ำ

         คำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า 
คำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) มี 2 ชนิด คือ
        คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน เช่น
        พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่ ครู เพราะ ครัว กรน รวนแปร ขรุขระ พระตรง ครั้ง กราบ โปรด ปรักปรำ ครื้นเครง เคร่งครัด ครอบ ปรอย กรอง
        พยัญชนะต้นควบกับ ล ได้แก่ เปล่า ปลีก คลาน คลุก เคล้า เปลี่ยนแปลง กลบ กลม เพลิดเพลิน เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น คล่องแคล่ว เกล้า
        พยัญชนะต้นควบกับ ว ได้แก่ กวาด ขวาน ควาย ขวิด แคว่งคว้าง แขวน ขวนขวาย คว่ำ ควาญ แกว่งไกว ความ แคว้น ขวัญ ควัน


ไม้กวาด อ่านว่า ไม้-กวาด
ขวาน อ่านว่า ขวาน


กราบ อ่านว่า กราบ
ปลา อ่านว่า ปลา


คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียงเป็นเสียงอื่นไป
        คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ได้แก่พยัญชนะ จ ซ ศ ส ควบกับ ร เช่น จริง ไซร้ เศร้า ศรี ศรัทธา สร้าง เสริม สร้อย สระ สรง สร่าง
        คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงกลายเป็น ซ ได้แก่ ทรง ทราบ ทราม ทราย แทรก ทรุด โทรม มัทรี อินทรี นนทรี พุทรา


ทราย อ่านว่า ทราย
 
สระว่ายน้ำ อ่านว่า สะ-ว่าย-น้ำ                                
สร้อย อ่านว่า สร้อย




                                     หน่าก่อนหน้า         หน้าหลัก       หน้าถัดไป

ตัวการันต์ (ทัณฑฆาต)

การันต์ ( ์ )

การันต์ ( การ+อันต์) แปลว่า กระทำในที่สุด ทำให้สุดศัพท์ หมายถึงตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีเครื่องหมายทัณฑฆาต กำกับไว้
ทัณฑฆาต แปลว่า ไม้สำหรับฆ่า เป็นเครื่่องหมายสำหรับฆ่าอักษร ไม่ต้องออกเสียงการันต์ 
คำที่ใช้การันต์
  1. ศุกร์ เครื่องยนตร์ พัสตร์ พักตร์ จันทร์ จันทน์ อินทร์ เทเวศร์
  2. พระศรีมหาโพธิ์ รามเกียรติ์
  3. ธำมรงค์ ธุดงค์ รณรงค์ พระปรางค์ องค์ อนงค์ อุโมงค์
  4. มนต์ พระอรหันต์ (อะระหัน) เกษมศานต์
  5. ไพบูลย์ อดุลย์ อำมาตย์ นิตย์ สัตย์
  6. กรณีย์(กิจ) อินทรีย์(ร่าง, อำนาจ)
  7. อายุเยาว์ นงเยาว์
  8. พระอินทร์ ดวงจันทร์ แก่นจันทร์
  9. สิงห์ สงเคราะห์
พระจันทร์ อ่านว่า พระ-จัน
อุโมงค์ อ่านว่า อุ-โมง
ใบโพธิ์ อ่านว่า ใบ-โพ
พระสงฆ์ อ่านว่า พระ-สง

ร หัน (รร)

  


ร หัน (รร)
รร เป็นตัวอักษรที่ถ่ายมาจาก รฺ ในภาษาสันสกฤตซึ่งใช้อักษรนี้เขียนแทนเสียง r ที่ปรากฏระหว่างสระกับพยัญชนะ
         คำที่ใช้ รร นอกจากจะมาจากภาษาสันสกฤตแล้วยังมีส่วนหนึ่งเป็นคำยืมจากภาษาเขมร เช่น คำว่า บรรจง บรรจบบรรจุ บรรดา บรรทัด บรรทุก บรรเทา บรรทม สรร รร ในคำยืมจากภาษาเขมร จะออกเสียงสระ –ะ มีเสียงสะกดเป็นแม่ กน ทั้งหมด
         คำที่เขียนด้วย รร ในภาษาไทย ทั้งที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร อ่านออกเสียงเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้
     ๑) ออกเสียงสระ –ะ มีเสียงตัว น เป็นเสียงสะกด ใน ๓ กรณี ดังนี้
         ก) รร ออกเสียงเป็น สระ อะ มีเสียง น เป็นเสียงสะกด เช่น สรร จำนรร
         ข) รร ออกเสียงเป็น สระ อะ มีเสียง น เป็นเสียงสะกด เมื่อพยัญชนะที่ตามมามีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับอยู่ เช่น กรรม์ กรรม์ภิรมย์ ขรรค์ ครรภ์ สรรค์ สรรพ์ ธรรม์ พรรษ์ สวรรค์
         ค) รร ออกเสียง เป็นสระ อะ มีเสียง น เป็นเสียงสะกด เมื่อพยัญชนะที่ตามมาประสมกับสระอื่น แยกเป็นอีกพยางค์หนึ่ง เช่น กรรชิง กรรกง กรรกฎ กรรกศ กรรไตร กรรทบ กรรบิด กรรณา กรรณิกา

กรรไกร อ่านว่า กัน-ไกร


สวรรค์ อ่านว่า สะ-หวัน
ตั้งครรภ์ อ่านว่า ตั้ง-คัน


๒) รร ออกเสียงเป็นสระ อะ มีพยัญชนะตาม ซึ่งแยกย่อยเป็น ๒ แบบ ดังนี้
  ก) ใช้พยัญชนะที่ตามหลัง รร เป็นเสียงสะกด
  มีเสียงสะกดเป็นแม่ กน ได้แก่ กรรณ บรรณ พรรณ วรรณ
  มีเสียงสะกดเป็นแม่ กม ได้แก่ กรรม จรรม ธรรม
  มีเสียงสะกดเป็นแม่ กก ได้แก่ ตรรก วรรค พรรค มรรค อรรค อรรฆ อรรฆย์
  มีเสียงสะกดเป็นแม่ กด ได้แก่ พรรษ มรรษ วรรษ วรรช วรรชย์ อรรจน์ อรรถ

  มีเสียงสะกดเป็นแม่ กบ ได้แก่ ครรภ ทรรป ทรรปณ์ บรรพ สรรพ
ผิวพรรณ อ่านว่า ผิว-พัน  
สรรพสินค้า อ่านว่า สับ-พะ-สิน-ค้า




พระธรรม อ่านว่า พระ - ทำ


   คำที่เขียนด้วย รร ในภาษาไทย ออกเสียงตามหลักเกือบทั้งหมด มีคำที่ออกเสียงไม่ตรงกับการเขียนเพียงไม่กี่คำ และคำเหล่านี้สามารถปรับการเขียนหรือการออกเสียงเพื่อให้เข้ากับหลักปฏิบัติ ที่มีอยู่ได้โดยไม่ทำให้เกิดความวุ่นวายสับสนใด ๆ จึงน่าจะได้พิจารณาแก้ไขการเขียนและการออกเสียงโดยเฉพาะในหนังสือ “อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร” และ “พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน” ในการพิมพ์ครั้งต่อไป
       




                     ก่อนหน้า     หน้าหลัก     แบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์