คำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) มี 2 ชนิด คือ
คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน เช่น
พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่ ครู เพราะ ครัว กรน รวนแปร ขรุขระ พระตรง ครั้ง กราบ โปรด ปรักปรำ ครื้นเครง เคร่งครัด ครอบ ปรอย กรอง
พยัญชนะต้นควบกับ ล ได้แก่ เปล่า ปลีก คลาน คลุก เคล้า เปลี่ยนแปลง กลบ กลม เพลิดเพลิน เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น คล่องแคล่ว เกล้า
พยัญชนะต้นควบกับ ว ได้แก่ กวาด ขวาน ควาย ขวิด แคว่งคว้าง แขวน ขวนขวาย คว่ำ ควาญ แกว่งไกว ความ แคว้น ขวัญ ควัน
![]() |
ไม้กวาด อ่านว่า ไม้-กวาด |
![]() |
ขวาน อ่านว่า ขวาน |
![]() |
กราบ อ่านว่า กราบ |
![]() |
ปลา อ่านว่า ปลา |
คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียงเป็นเสียงอื่นไป
คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ได้แก่พยัญชนะ จ ซ ศ ส ควบกับ ร เช่น จริง ไซร้ เศร้า ศรี ศรัทธา สร้าง เสริม สร้อย สระ สรง สร่าง
![]() |
ทราย อ่านว่า ทราย |
![]() |
สระว่ายน้ำ อ่านว่า สะ-ว่าย-น้ำ |
![]() |
สร้อย อ่านว่า สร้อย หน่าก่อนหน้า หน้าหลัก หน้าถัดไป |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น